สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก

สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 4

ทีมนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงศักยภาพของนวัตกรรุ่นใหม่ ส่งผลงานสุดยอดนวัตกรรมจรวดความเร็วเสียง ชื่อ “เคอร์เซอร์-1” (CURSR-1) เข้าร่วมการแข่งขันจรวดความเร็วเสียงที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติ ในรายการ Spaceport America Cup 2022  ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565 ณ เมืองลาสครูเซส รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีนิสิตนักศึกษาจากสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 150 สถาบัน

สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 6
สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 7

โดยทีมนิสิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 14 คน จากชมรม CUHAR (ซียูฮาร์) (Chulalongkorn University High Altitude Research Club) หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (International school of Engineering :ISE) สาขาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering)  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 2

ประกอบด้วย 1. ภูวิศ เชาวนปรีชา 2. พีรวิชญ์ จิระคุณากร 3. นิธิพจน์ สืบพานิช 4.กฤตนุ หงษ์วิหค 5.พรธีตรา รัตนพันธุ์ศรี 6.รชยา ดีเลิศกุลชัย 7. พศิน มนัสปิยะ 8.ภวินท์ กฤติยานิธิ 9.ภูวนัฏฐ์ พัทระฐวินัน 10.ณภัทร พรถาวรวิทยา 11. ตฤณ อุทัยสาง 12. รัชกฤช ศีลสัตย์ 13.ธนกฤต มาลีสุทธิ์ และ14. สิริวัชร์ สิริรัตนชัยกุล สามารถคิดค้น พัฒนาวิศวกรรมจรวดความเร็วเสียง ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ สร้าง และยิงจรวดความเร็วเสียง จนสามารถเป็นตัวแทนของประเทศไทยทีมแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันในระดับความสูง 10,000 ฟุต

สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 5
สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 3
สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า ise 1

ผลงานสุดยอดนวัตกรรมจรวดความเร็วเสียง “เคอร์เซอร์-1” ของทีมนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ Dr.Gil Moore Award ด้านความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมการออกแบบจรวดความเร็วเสียง โดยได้รับรางวัลร่วมกับทีมจากประเทศสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ส่วนการทดสอบยิงจรวดจริง ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 53 จากทั้งหมด 150 ทีมทั่วโลก

สุดยอดทีมนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ โชว์ศักยภาพคว้ารางวัลประกวดจรวดความเร็วเสียงชนะอันดับสองของโลก ตลาดอุตสาหกรรมไทย นวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า lead Engineering Team

ภูวิศ เชาวนปรีชา ประธานชมรมซียูฮาร์ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จรวดความเร็วเสียง “เคอร์เซอร์-1” เป็นจรวดลำแรก ของทีมนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ และลำเดียวจากประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งจรวดลำนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของเพื่อนๆ ทุกคนในชมรมฯ ที่ต้องการพัฒนาจรวดฝีมือคนไทย ซึ่งสำหรับนิสิตในไทย ยังมีข้อจำกัดในการหาเชื้อเพลิง รวมถึงที่ฝึกยิง ทำให้คณะกรรมการต่างพากันชื่นชม และตะลึงในความสามารถของนิสิตไทย ที่สามารถคิดค้นจรวดได้ ทั้งที่ไม่มีพื้นที่ฝึกยิง แต่ใช้เทคนิคเฉพาะด้านในการทดสอบควบคุมสั่งการแทน และยังเป็นจรวดที่มีศักยภาพสูงเทียบเท่ากับจรวดของประเทศอื่นที่มีพื้นที่ในการฝึกยิง และมีความพร้อมในการผลิตจรวด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับคำแนะนำจากท่านคณบดี ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล รวมถึงคณาจารย์ที่ปรึกษาโครงการทุกท่าน

  ด้าน ดร.พิทักษ์พงษ์ รัตนไกรคณากร อาจารย์ประจำหลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE) สาขาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering) เปิดเผยว่า ความสำเร็จของนิสิตกลุ่มนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ ของการศึกษาไทยด้วยเช่นกัน เพราะหลักสูตร ISE สาขาวิศวกรรมอากาศยาน ของคณะวิศวฯ จุฬาฯ  สอนให้นักศึกษาสร้างระบบความคิด ในการผลิตผลงานนวัตกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับนิสิตกลุ่มนี้ที่สามารถผลิตจรวดได้รางวัลระดับโลก 

สำหรับเยาวชนที่สนใจเกี่ยวกับจรวด หรือมีความฝันเกี่ยวกับการสร้างผลงานออกไปนอกอากาศยาน สามารถเข้ามาศึกษา หรือ เรียนในหลักสูตร หลักสูตรนานาชาติ (ISE) สาขาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ ซึ่งเปิดกว้างให้กับเยาวชนทุกคนได้แสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

ตลาดอุตสาหกรรมไทย
Logo